อาหารแก้อาการบวมน้ํา

  

อาหารแก้อาการบวมน้ํา

อาหารแก้อาการบวมน้ํา

DINGDONG888 ผู้ให้บริการ ซื้อหวยออนไลน์ เจ้าใหญ่ จ่ายจริง อัตราจ่าย 900/95 ทุกหวยออนไลน์ มีกิจกรรมและโปรโมชั่นให้เลือกเล่นมากมาย

 อาการบวมน้ําคือความไม่สบายที่เกิดเนื่องจากปริมาณน้ําในร่างกายมีมากเกินปกติ ซึ่งทําให้เกิดมีอาการตามมามากมาย ตั้งแต่รู้สึกอึดอัด อืดอาด เซื่องซึม ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย นอนไม่ดี ขาบวม ความดันเลือดสูงปวดประจําเดือน น้ําหนักขึ้นพรวดพราด เป็นต้น


สาเหตุของอาการบวมน้ํามีหลายปัจจัยคือ

          1. ฮอร์โมนในร่างกายโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศแปรปรวน ทําให้เกิดอาการปวดประจําเดือนปวดหลังปวดเอวปวดศีรษะท้องอืดท้องเสียหน้าแข้งบวมทําให้ รู้สึกหนักขาและน้ําหนักขึ้นร่วมด้วย จะเกิดก่อนมีประจําเดือนทุกเดือน หรือเกิดในขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพราะฮอร์โมนในร่างกายผิดไปจากยามปกติ
          วิธีแก้ คือนอกจากงดอาหารเค็มแล้วคงต้องพึ่งกรดแกมมาไลโนเลนิกโดยกินน้ํามันดอกพริมโรสบานเย็นวันละ 2 กรัมเป็นเวลา3 เดือนเมื่อกินน้ํามันดอกพริมโรสบานเย็นต้องงดนมวัวผลิตภัณฑ์จากนมวัว กาแฟ ชาเขียวด้วย

          2. กินเกลือโซเดียมมากเกินไป เพราะ เกลือโซเดียมเมื่ออยู่ในร่างกายมันจะต้องอุ้มน้ําเอาไว้เสมอเมื่อมีเกลือในร่างกายมากก็จะเกิดอาการบวมน้ํามาก
          วิธีแก้ คือลดการกินเค็มลงรวมทั้งงดการกินผงชูรสอย่างเด็ดขาด เพราะ ผงชูรสคือโมโนโซเดียมกลูตาเมทโซเดียมในผงชูรสก็คือเกลือแบบเดียวกับเกลือเค็มๆ แต่เผอิญผงชูรสมันมีรสหวานจึงทําให้คนทั่วไปไม่ได้ระมัดระวังเกลือตัวนี้

          3. แอลบูมินหรือไข่ขาวในเลือดต่ําจะทําให้เลือดไม่สามารถดึงน้ําไว้ได้ในหลอดเลือดน้ําจึงซึมออกไปอยู่ในเนื้อเยื่อ และทําให้เกิดอาการบวมน้ํา เช่น ในกรณีที่เป็นโรคตับ โรคมะเร็งในระยะท้าย และ โรคไตบางชนิดที่สูญเสียไข่ขาว


ไปทางปัสสาวะ
          วิธีแก้ คือการกินไข่ขาวทุกวันเช่นวันละ 6-9 ฟองหรือไม่เช่นนั้นก็ต้องรับแอลบูมินทางเส้นเลือดดํา

         4. มีก้อนเนื้อไปขวางทางเดินของน้ําเหลืองน้ําจึงคั่งอยู่ส่วนล่างของร่างกายทําให้เท้าบวมเช่นอ้วนผู้หญิงท้องมีก้อนในท้อง มีตับโต
          วิธีแก้ คือต้องเอาก้อนนั้นออก เช่น ผ่าตัดออกหรือเมื่อน้ําหนักลดลงอาการบวมน้ําจะลดลง        

         5. การอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวทำให้น้ําค้างอยู่ในส่วนล่างของร่างกาย เช่น นั่งรถทัวร์นั่งเครื่องบินอยู่กับที่นานๆ


บล็อกอื่นๆ ที่น่าสนใจ


















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เช็กด่วน! เสริมหน้าอกด้วย "ซิลิโคน" เกิน 10 ปี เสี่ยงแตก-รั่วซึม

5 สัญญาณเตือน "ซิลิโคนจมูก" ใกล้ทะลุ

ทำไมเราถึง “ปวดก้นกบ” และรักษาอย่างไร